การซ่อมบำรุงและดูแลรักษารถยนต์
Maintenance
How can I tell when my car needs servicing?
“จะรู้ได้อย่างไรว่ารถของเราต้องเข้าศูนย์”
คอยหมั่นสังเกตุสัญลักษณ์ไฟเตือนบนหน้าปัด
Keep a look out for indicator symbols
การเป็นนักขับรถยนต์ที่ดี ท่านควรหมั่นตรวจเช็คสภาพรถยนต์ของท่านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัย สูงสุดและเพื่อการรักษาสภาพและ สมรรถนะของรถให้เหมือนใหม่ตลอด หากท่านได้ยินเสียงที่ไม่ปกติ หรือสังเกตุอาการของรถที่แตกต่างจากการขับขี่ปกติ ท่านควรตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นและนำเข้าศูนย์บริการโตโยต้าเพื่อทำการซ่อมโดยช่างผู้ชำนาญ
นอกเหนือจากนั้นรถโตโยต้าของท่านได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเตือนให้ท่านทราบเกี่ยวกับการทำงานของ รถยนต์ที่ไม่ปกติ โดยจะแสดงสัญลักษณ์ต่างๆบนหน้าปัดที่นั่งคนขับถึงสภาวะอุปกรณ์ที่ทำงานผิดปกติ และต้องการซ่อมบำรุง เช่นความจุไฟฟ้าในแบตเตอรรี่ต่ำเป็นต้น ดังนั้นท่านควรหมั่นสังเกตุสัญลักษณ์ต่างๆ บนหน้าปัด และหากมีสัญลักษณ์ปรากฏ ท่านสามารถเปิดดูความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆได้ในคู่มือ รถยนต์และนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการโตโยต้าทันที
Fluids
น้ำยาต่างๆ
น้ำมันเครื่องยนต์
Motor Oil
เทคนิคที่ดีสำหรับการเติมน้ำมันเครื่อง ท่านควรจอดรถอยู่ในแนวระดับเรียบ อุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับ
เครื่องทิ้งไว้ 2-3 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่อง ไหลกับมาลงอ่างแล้วจึงทำการวัด ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมน้ำมันเครื่องที่ละน้อย
หากไม่เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะว่าน้ำมันเครื่องจะมีความหนืดเพิ่มมาก ขึ้น (Engine sludge) และสารหล่อลื่นจะมี ประสิทธิภาพต่ำลง ทำให้เกิดความเสียหาย ในระบบเครื่องยนต์ได้
Engine Coolant
น้ำยาหล่อเย็นเครื่องยนต์
Coolant reservoir and its placement varies between models
เนื่องจากน้ำยาหล่อเย็นเป็นสารที่ช่วยลดความร้อนของเครื่องยนต์ขณะทำงาน ซึ่งน้ำยาหล่อเย็นนี้จะไหลจากหม้อน้ำเข้าไปยังโพรงน้ำ ในเครื่องยนต์ และนำเอาความร้อนออกมาที่หม้อน้ำเพื่อระบายความร้อนและนำกลับไปในโพรงน้ำในเครื่องยนต์อีกครั้ง
ระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพักต้องอยู่ระหว่าง “Full” และ “Low”
ถ้าระดับน้ำหล่อเย็นลดลงเร็วกว่าปกติให้ตรวจดูท่อยาง, หม้อน้ำ, ฝาปิดหม้อน้ำ, ก๊อกถ่ายน้ำและปั๊มน้ำ หากไม่พบรอยรั่วให้ส่งรถไป ตรวจเช็คที่ศูนย์บริการโตโยต้าทันที และถ้าหากน้ำหล่อเย็นกระเด็น ไปถูกชิ้นส่วนอื่นๆ ต้องใช้น้ำล้างออก อย่าใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ และท่านควรเลือกใช้น้ำยาหล่อเย็น LLC ของโตโยต้า เท่านั้น
น้ำยาหล่อเย็นเป็นสารที่ช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ที่ทำงานตลอดขณะเครื่องยนต์ติด ถ้าหากระดับน้ำหล่อเย็นมีไม่ เพียงพอก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการช่วยหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ลดลง ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน และเกิดสภาวะร้อนจัดหรือที่เรียกว่า “Engine overheat” ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อการขับขี่
หม้อพักน้ำหล่อเย็นและตำแหน่งของหม้อจะแตกต่างกันในรถแต่ละรุ่น
น้ำมันเบรค Hydraulic
Break Fluid, Hydraulics
เราขอแนะนำให้เติมน้ำมันเบรกให้ตรงกับระบบเบรกของรถหรือน้ำมันเบรกโตโยต้าเท่านั้น น้ำมันเบรกเป็นอันตรายต่อดวงตา และจะทำลายสีรถ เวลาเติมควรระวัง ไม่ให้ล้นหรือกระเด็น
น้ำมันเบรกจะเลื่อมคุณภาพลง หากมีน้ำหรือ ความชื้นปนลงไป การไม่เปลี่ยนตามกำหนด เวลา จะทำให้เกิดความเสียหายในระบบเบรก เพราะน้ำมันเบรกมีความชื้น เช่น ทำให้โอริงเสียหาย เป็นสาเหตุให้เบรกรั่ว ทำให้เกิดสนิมในระบบเบรก และเกิดการอุดตัน ทำให้เบรกไม่อยู่
หม้อพักน้ำมันเบรกและตำแหน่งของหม้อจะแตกต่างกันในรถแต่ละรุ่น
Brake fluid reservoir and its placement varies between models
ห้องเครื่องยนต์
Under the hood
หัวเทียน
Spark plugs
หัวเทียน คือตัวจุดระเบิดในระบบ เครื่องยนต์เบนซิน ทำหน้าที่จุดระเบิด อากาศกับน้ำมันที่โดนลูกสูบอัดให้มี ปริมาณเล็กลง เพื่อการสร้างแรงขับเคลื่อน
กรองน้ำมัน
Oil filter
กรองน้ำมันเครื่อง คือ ชิ้นส่วนที่จะดักกรองสิ่งเจือปน ในน้ำมันป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมในน้ำมันเครื่อง กลับเข้าไปในเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์เสียหายได้
การใช้กรองน้ำมันที่เสื่อมสภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน โตโยต้า อาจทำให้ประสิทธิภาพ การกรองนํ้ามันเครื่องลดลง ทำให้น้ำมันที่ไปหล่อลื่น เครื่องยนต์ไม่สะอาด หากกรองน้ำมันเกิดการอุดตัน จะไม่สามารถกรองน้ำมันได้เร็วพอที่จะไปหล่อลื่น ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ และท้ายสุดก่อให้เกิด ความเสียหายกับเครื่องยนต์ได้
สายพาน
Drive belts
สายพาน คือ ชิ้นส่วนที่ขับเคลื่อนกลไกของ รถยนต์ให้เป็นไปในทางที่สอดคล้องกัน มีลักษณะเป็นเส้นสีดำ และจะมีช่องปากไว้ตรง ด้านในของสายพาน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกลไก ของเครื่องยนต์ทำให้ทำงานสอดคล้องกัน หากสายพานชำรุดและยังถูกใช้งานอยู่อาจทำให้การทำงานของกลไกเครื่องยนต์ผิดเพี้ยนไป ทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ เพราะฉนั้นท่านควรนำรถของท่านเข้ารับบริการ เช็คระยะตามกำหนด เพื่อให้ท่านแน่ใจว่า สายพานยังคงมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
ตัวอย่างลักษณะสายพานเครื่องยนต์
Example of drive belts shown
Other functions
ระบบอื่นๆ
เบรกทำหน้าที่ เพื่อลดความเร็วรถที่กำลังแล่นจน กระทั่งหยุด จำเป็นที่จะต้องสร้างแรงเพื่อ ลดความเร็วของ การหมุนล้อเมื่อคนขับ เหยียบแป้นเบรก อุปกรณ์เบรกจะสร้างแรง(แรงต้านจากพื้นถนน) ที่ใช้ห้ามล้อและดูดซับแรง(เฉื่อย) ที่ทำให้รถเคลื่อนที่อยู่ ชลอความเร็วและหยุดในที่สุด กล่าวคือพลังงาน (พลังงานจลน์) ของล้อที่ไปหมุนจะถูกเปลี่ยนไปเป็น ความร้อนของแรงเสียด ทาน โดยการเหยียบเบรก ซึ่งจะไปหยุดการหมุนของล้อ ไม่ว่าจะเป็นเบรกประเภทใหน เบรกต้องหยุดได้ตามความ ต้องการของคนขับเสมอ
Braking system
ระบบเบรค
Exhaust system
ระบบไอเสีย
ท่อไอเสียทำหน้าที่ ระบายไอเสียที่เกิดจากการเผาผลานเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ควรจะเปลี่ยนเมื่อสภาพใช้การไม่ได้แล้ว
Drum brake
ระบบเบรคแบบดรัม
ระบบเบรคแบบดิสค์
Disc brake
สัญญาณเตือนว่าผ้าเบรกหมด
ระบบดิสเบรกจะมีเสียงขูดหรือเสียงเสียดสีดังขึ้นในขณะที่ขับขี่อยู่ เพื่อเป็นการเตือนว่า ผ้าเบรกใกล้จะหมด หากได้ยินเสียงนี้รีบ นำรถเข้าตรวจเช็คระบบเบรกและเปลี่ยนผ้า เบรกทันที
ดรัมเบรกจะห้ามล้อไม่ให้หมุนโดยใช้แรงดัน ไฮดรอลิกที่ส่งมาจากแม่ปั๊มเบรกไปยังกระบอกเบรก เพื่อบีบฝักเบรกให้ชิดดรัมเบรกซึ่งหมุนไปพร้อมกับล้อ
เนื่องจากฝักเบรกถูกล้อมไปด้วยดรัมเบรก จึงระบายความร้อนได้ยากเบรกแบบนี้จะทนทานต่อ
ความร้อนได้น้อย
ดิสก์เบรกจะดันลูกสูบโดยใช้แรงดันไฮดรอลิกที่ส่งผ่านทาง ท่อน้ำมันเบรกมาจากแม่ปั๊มเบรก เพื่อทำให้ผ้าดิสก์เบรกหนีบ ทั้งสองด้านของโรเตอร์ดิสก์เบรก และหยุดล้อไม่ให้หมุน
และเนื่องจากโรเตอร์ดิสก์เบรกและผ้าดิสก์เบรกจะต้องเสียดสีกัน จึงทำให้เกิดความร้อนเนื่องจากแรงเสียดทาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรเตอร์ดิสก์เบรกและเรือนเบรกเปิดออกด้านนอก ความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดทานจะลดลงได้ง่าย
คือตัวซับแรงกระแทกเพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกรุนแรง ไปยังผู้ขับขี่ อยู่บริเวณบนปีกนกทั้งสองข้างของล้อหน้า และอยู่ข้างแหนบของล้อหลังทั้ง 2 ล้อ
อาการสึกจะมีอาการโช้คแข็งตัว คือจะมีความรู้สึกว่า ไม่มีการซับแรง หรือ มีอาการกระโดด คือ ตกหลุมแล้วไม่มีการรั้งรถจะกระโดดไปเรื่อยๆ หากสังเกตว่าถ้าขี่ไปแล้วตกหลุม โช้คแข็งหรือมีการ กระโดด หากมีอาการดังกล่าวควรนำเข้าศูนย์บริการทันที
โช็คอัพ
Shock absorbers
ยางรถยนต์
Tyres
How to fill up tyres
วิธีเติมลมยางรถยนต์
วิธีการตรวจเช็ค
ใช้มาตรวัดยางในการตรวจความดันลม ยางให้ได้ตามค่าที่กำหนด
เท็คนิคการเติมลมยาง
วัดลมยางขณะล้อยังเย็น คือ รถจอดอยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และขับมาไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร
ข้อควรระวัง
ลมยางที่ผิดจากค่าที่กำหนดทำให้อายุ ของยางสั้นลง และลมยางที่ผิดจาก ค่าที่กำหนด 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว มีผลต่อการบังคับพวงมาลัยและการขับขี่
เติมลมไนโตรเจน ซึ่งในปัจจุบันจะหาเติมได้จากศูนย์บริการ ที่เป็นศูนย์ให้บริการเกี่ยวกับยาง ซึ่งลมไนโตรเจน จะมีความเบากว่าอากาศ และเมื่อเกิดความร้อนจะไม่ขยายตัว ลมยางต้องมีเกจวัดลมยางจึงจะรู้แรงดันลมยางได้
เติมลมจากปั๊มลมธรรมดา ซึ่งการเติมจากปั๊มลมธรรมดา ทำได้ง่ายเพราะมีอยู่ทั่วไป แต่มีข้อเสียคือ เมื่อยางวิ่งไปแล้ว ยางเสียดสีกับพื้นถนนมากๆ จะทำให้เกิดความร้อน และทำให้อากาศภายในยางขยายตัวและอาจทำให้ยางระเบิดได้
เติมลมยางโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน
Nitrogen
เติมลมยางโดยใช้อากาศ
Air
แบ็ตเตอร์รี่
Battery
แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้าที่ชาร์จ และเป็นแหล่งจ่ายไปให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในรถและเมื่อรถดับการสตาร์ทครั้งแรกจะใช้ไฟ จากแบตเตอรี่เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ แบตเตอรี่มี 2 ประเภท คือ แบบแห้งและแบบน้ำ
Comparison between dry cell and wet cell batteries
ข้อเปรียบเทียบระหว่างแบตเตอรี่แห้งและเปียก
แบ็ตเตอร์รี่แบบแห้ง
Dry-cell battery
แบ็ตเตอร์รี่แบบน้ำกลั่น
Wet-cell battery
- ไม่ต้องคอยเติมสารอีเลคโทรไลท์
- ราคาแพงกว่าแบตเตอรี่เปียก
- ใช้สารเคมีแบบเหนียวพอให้มี ความชื้นเพียงพอ
เพื่อที่จะสื่อ กระแสไฟฟ้าให้ผ่านได้
- อายุการใช้งานประมาณ 10 ปี
- ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อย
- อายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี
- ใช้ส่วนผสมสารอีเลคโทรไลท์ในแบตเตอรี่คือกรดซัลฟูริค
(Sulphuric acid) และ น้ำสะอาด ในการสื่อกระแสไฟฟ้า
ตรวจเช็คระดับน้ำกรดให้ครบทุก ช่อง อย่าตรวจเพียงหนึ่งหรือ สองช่อง และรักษาความสะอาดบริเวณขั้วและหัวต่อสายอย่าให้มี คราบกำมะถันขี้เกลือ ส่วนของแบตเตอรี่ต้องแห้งเสมอ
ระดับน้ำกรดควรอยู่ระหว่าง “UPPER” และ “LOWER” หรือเมื่อเปิดฝาดูควรท่วมสูงกว่า แผ่นธาตุที่มองเห็นประมาณ 1 เซนติเมตร
Checking & Technique
วิธีการตรวจเช็คแบตเตอร์รี่
แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การจอดรถทิ้งไว้โดยไม่ใช้งานเป็นเวลานานๆ แล้วไม่ถอดขั้วแบตออกก็จะทำใหแบตเตอรรี่ เสื่อมสภาพได้ หรือ การที่ไดชาร์จเสีย คือ ไดชาร์จอาจจะหมุนอยู่ แต่อุปกรณ์ภายใน ของไดชาร์จเสียหาย จะทำให้ไดชาร์จไม่มีการ ชาร์จไฟ ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนัก และไม่มีไฟชาร์จเข้าไปก็จะทำให้แบตเตอรี่ เสื่อมสภาพได้
ปัญหาที่มักเกิดกับแบตเตอร์รี่
Common problem
ข้อควรระวัง
เติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น อย่าเติมเกินขีดสูงสุด น้ำกรดจะเดือดกระเด็นออกมาขณะใช้งาน อย่าสูบบุหรี่ หรือจุดไม้ขีดบริเวณใกล้ๆแบตเตอรี่ ซึ่งอาจเกิดระเบิดได้และอย่าให้น้ำกรดเข้าถูกบริเวณ ผิวหนังและเสื้อผ้า
แบตเตอรี่จะแตกต่างกันในรถแต่ละรุ่นและยี่ห้อและอาจจะไม่เหมือนกับภาพที่แสดง
Battery varies by different models and brands.
The diagram shown is a general depiction of a
conventional wet cell battery
ความแตกต่างระหว่างแบตเตอรี่ไฮบริดและแบตเตอรี่ธรรมดา
The difference between hybrid battery and standard battery
แบตเตอรี่ธรรมดาแตกต่างกับแบตเตอรี่ไฮบริด ที่ขนาด และระบบการจ่ายไฟฟ้า แบตเตอรรี่ธรรมดาโดยส่วนมาก จะเป็นตัวจ่ายไฟฟ้าในการติดเครื่องยนต์ ระบบอีเลคโทรนิคของรถ ระบบแอร์ ในระบบรถยนต์ไฮบริดของโตโยต้า หรือ TOYOTA Hybrid Synergy Drive มีอุปกรณ์หลักๆ ที่เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากรถยนต์ปกติคือ มอเตอร์ไฟฟ้ากับแบตเตอรี่ ไฮบริดขนาดใหญ่ ระบบไฮบริดของโตโยต้าจะทำงานโดย การใช้ประแสไฟจากแบตเตอรรี่ไฮบริด จ่ายไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อช่วยหมุนล้อและขับเคลื่อนรถยนต์ แต่การพัฒนาระบบไฮบริดก็มีหลายลักษณะโดย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะหลักๆ คือ ระบบไฮบริดแบบเสริมกับแบบเต็มระบบ
ระบบไฮบริดแบบเสริม
Mild hybrid system
เนื่องจากการวิจัยพบว่า การใช้งานรถยนต์ตาม ปกตินั้น ช่วงเวลาที่รถยนต์จะกินน้ำมันมากที่สุดก็คือ ช่วงที่ต้องออกตัว ช่วงที่เร่งความเร็ว และช่วงที่ขึ้น ทางลาดชัน ดังนั้นระบบไฮบริดแบบเสริมจึงถูก ออกแบบมาเพื่อการเหล่านี้เท่านั้น โดยการใช้ มอร์เตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วยขับเคลื่อนล้อในบางโอกาส เพื่อแบ่งเบาภาระของเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งก็เป็นการประหยัดไปได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้นในระบบนี้ เครื่องยนต์ก็ยังคงต้อง ทำงานอยู่ตลอดเวลา เหมือนเดิม แต่ไม่ต้องออกแรงมากเท่าเดิมเท่านั้นเอง
Full hybrid system
ระบบไฮบริดแบบเต็ม
ระบบไฮบริดของโตโยต้า หรือ Hybrid Syndergy Drive ถือว่าเป็นระบบไฮบริดแบบเต็มระบบ โดยการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า จะทำงานเป็นอิสระกับเครื่องยนต์ รถยนต์อาจถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ อย่างเดียว ไฟฟ้าอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันไปก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราขึ้นรถบิดกุญแจเพื่อสตาร์ทรถ ระบบจะทำการตรวจสอบก่อนว่ามีไฟฟ้าในแบตเตอรี่พอมั้ย ถ้าพอ การบิดกุญแจก็จะเป็นเหมือนการเปิดสวิทช์เท่านั้น แล้วท่านสามารถเหยียบคันเร่ง หมุนล้อด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าได้เลย แต่ถ้าไม่พอ ระบบก็จะไปสตาร์ทเครื่องยนต์ตาม ปกติแล้วก็อาศัยกำลังเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนล้อ ในขณะที่ใช้เครื่องยนต์ ขลับเคลื่อน แบตเตอรี่ก็ถูกชาร์จไปด้วย เมื่อแบตเตอรี่เต็ม รถก็สามารถนำพลังงาน ไฟฟ้ามาใช้เสริมพลังปกติได้ด้วย เช่น ตอนเร่งแซงหรือออกตัว หรือในบางครั้งก็ปรับกลับมาใช้ไฟฟ้าอย่าง เดียวได้เมื่อหยุดติดไฟแดงหรือ วิ่งที่ใช้ความเร็วต่ำ ขณะที่ผู้ขับเริ่มแตะเบรก มอเตอร์ขับเคลื่อนจะเปลี่ยนหน้าที่ จากตัวขับเป็นตัวปั่นไฟอีกตัว ซึ่งจะปั่นไฟกลับไปยังแบตเตอรี่ก็ได้อีกทาง แล้วแถมช่วย เบรกได้อีกด้วย
การรับประกันแบตเตอร์รี่ไฮบริด
Hybrid battery warranty
กว่า 12 ปีแล้ว ที่โตโยต้าพรีอุสได้ทำการออก จำหน่ายไปทั่วโลก โดยได้รับการยอมรับกันทั่วหลาย ว่าเป็นรถที่ประหยัดน้ำมันและมีประสิทธิภาพสูง จนทำให้เมื่อใครๆ พูดถึงรถยนต์ตระกูลไฮบริดก็มักที่จะคิด ถึงโตโยต้าพรีอุซทุกครั้ง
ตั้งแต่การนำระบบไฮบริดเข้าตลาดมาระบบไฮบริดของโตโยต้าก็ได้ผ่านการพัฒนามาอยู่เสมอ จนปัจจุบันได้พัฒนาเป็น ระบบไฮบริดเจ็นเนอเรชั่นที่ 3 ท่านจึงมั่นใจได้ว่า ระบบไฮบริดซึ่งมีแบตเตอรี่ไฮบริดเป็นหลัก ได้ผ่านการ คำนึงถึงทุกสภาวะการขับขี่ คุณภาพของอุปกรณ์ และ การทำงานของระบบ เพื่อให้ท่านใช้รถได้อย่างเรียบง่าย สะดวก และ ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่รถยนต์ ตระกูลไฮบริดของโตโยต้ามียอดขายสะสมมากกว่า 5 ล้าน คันทั่วโลก ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงความเป็นผู้นำเทคโนโลยี ไฮบริดอย่างแท้จริง นอกเหนือจากนั้นเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจยิ่งขึ้น โตโยต้ายังรับประกันคุณภาพของแบตเตอร์รี่ถึง 5 ปีอีกด้วย